ทฤษฎีการบริหารจัดการสมัยใหม่ ของ Peter F.Drucker(2005)

Peter Ferdinand Drucker


ปีเตอร์ เฟอร์ดินานด์ ดรักเกอร์
(Peter Ferdinand Drucker)

         
หลักการบริหารจัดการสมัยใหม่

ในยุคเศรษฐกิจปัจจุบันทรัพยากรที่สาคัญที่สุดจะไม่ใช่เรื่องแรงงาน เงินทุนหรือที่ดินอีกต่อไปแต่จะเป็นเรื่องความรู้
1) Planning
การวางแผน เป็นการกำหนดหน้าที่การงานที่ต้องปฏิบัติ   เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ โดยกาหนดว่าจะดำเนินการอย่างไรและดำเนินการเมื่อไร  เพื่อให้สาเร็จตามแผนที่วางไว้  การวางแผนต้องครอบคลุมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
2) Organizing
การจัดองค์การ เป็นการมอบหมายงานให้บุคลากรในแผนกหรือฝ่ายได้ปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามแผนที่วางไว้ เมื่อแผนกหรือฝ่ายประสบความสำเร็จก็จะทำให้องค์การประสบความสำเร็จไปด้วย
3) Leading
การนำเป็นการจูงใจ การชักนำ การกระตุ้นและชี้ทิศทางให้ดำเนินไปสู่การบรรลุเป้าหมาย โดยการเพิ่มผลผลิตและเน้นมนุษย์สัมพันธ์ทำเกิดระดับผลผลิตในระยะยาวที่สูงกว่าภาวะงานเพราะคนมักไม่ค่อยชอบภาวะงาน
4) Controlling
การควบคุม เป็นภาระหน้าที่ของผู้บริหาร ที่จะต้อง  1) รวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินผลดำเนินงาน   2) เปรียบเทียบผลงานปัจจุบันกับเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ และ  3)ทำการตัดสินใจไปตามเกณฑ์หรือไม่เครื่องมือนี้ใช้เพื่อการวางแผน เราพยายามกำหนดแนวทางไปสู่จุดหมายปลายทาง ซึ่งโดยทั่วไปเราวางแผนด้านการเงิน , กลยุทธ์ ปัจจุบันเราวางแผนกลยุทธ์ เพื่อการแข่งขันวางแผนใช้วิธีการ กำหนดเป้าหมาย ผู้บริหารระดับสูงกำหนดและถ่ายทอดไปยังระดับรอง ๆ (หน่วยงานต่าง ๆ นำไปใช้) และเครื่องมือที่ใช้คือ MBO ( Management by Objective ) Goalคือเป้าหมายใหญ่ มีรายละเอียดคือ Objective ถ่ายทอดแต่ละระดับ ซึ่งจะมีการกำหนดวัตถุประสงค์ของฝ่ายเขา โดยสอดคล้องกับ Objective ระดับบน และระดับBusiness Unit , ระดับ Functional ก็ต้องมี Objective ของเขา ซึ่งต้องสอดคล้องกับระดับฝ่าย เป้าหมายของผู้บริหารสูงสุดถูกถ่ายทอดออกมาเป็น Objective เราจะรู้สึกว่าสิ่งที่ได้วางแผนไว้เมื่ออยู่ในระดับล่างแล้วเราสามารถทำได้หรือเปล่านั้นเราจะต้องมีการประเมินผล (Feed Back) กลับไป ซึ่งเครื่องมือที่ใช้คือ MBO แต่เมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา มีเครื่องมือที่ดีกว่า คือ Balance Scorecard เป็นตัวที่ถ่ายทอดกลยุทธ์และวิสัยทัศน์ของผู้บริหารออกมาเป็นแผนหลักของผู้บริหารอีกเครื่องมือหนึ่ง ซึ่ง MBO จะกำหนด Obj. ไว้กว้างเวลาวัดผลจะให้ Feed Back แต่ Balance Scorecard จะมี Measurement เป็นตัววัดที่ค่อนข้างได้ผลแน่นอน เป็นกรอบเครื่องมือที่เชื่อถือได้และได้ผลดีกว่า Balance Scorecard จะมี Obj. ในมุมมองแต่ละด้าน เช่น ด้าน Finance,ลูกค้า,กระบวนการภายใน,Learning Innovation โดยการนำหลักการของ MBOไปทำให้ดีขึ้น กลยุทธ์ คือแผนระยะยาว (Long Length Plan)
แผนกลยุทธ์ เป็นการมองไปในระยะยาวข้างหน้า 3-5 ปี เป็นการได้เปรียบทางการแข่งขัน ซึ่งจะต้องนำไปใช้ให้เป็น คือเมื่อวางแผนแล้วต้องมีการจัดองค์กร จัดคน และสามารถ Control ได้

ข้อดี/ข้อเสีย
 Peter F.Drucker เขียนไว้ว่า "การตัดสินใจที่มีประสิทธิผล จะตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจในแนวความคิดระดับสูงสุด แต่มีผลในทางปฏิบัติได้จริงและง่ายที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้"สำหรับการนำมาใช้ในการทำงานให้มีประสิทธิผล ต้อง
     1.  ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจในแนวความคิดระดับสูงสุด
     2.  ปฏิบัติได้จริงและง่ายที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้  
        
            การตัดสินใจที่ไม่มีประสิทธิผล เพราะไม่อยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจในแนวคิดระดับสูงสุด  มีผลมาถึงข้อสอง พอทำงานจริง  ก็ปฏิบัติด้วยความไม่เข้าใจ  เหมือนกับทำได้ไม่จริง  และเป็นการปฎิบัติงานที่ดูยุ่งยากสลับซับซ้อน มีขั้นตอนมาก

ผลสรุป ขอยกตัวอย่างเรื่องงานในสำนักงาน  หลายคนไม่เข้าใจแนวคิดสูงสุดเรื่องงานนั้น   ตีความผิดประเด็น  ส่งผลให้การทำงานเบี่ยงเบน  ชักช้า    โยกโย้   "งานไม่เดิน" ทั้งๆที่ ถ้าเข้าใจงานคิดว่าวันเดียวก็เสร็จ   แต่ที่ผ่านมา หลายๆงาน แทนที่จะเป็นวันเดียว กลับยืดเยื้อไปเป็น อาทิตย์    บางงาน ยื้อไปเป็นเดือน ที่ยื้อ คือ เหมือนกับต้องการทำงานให้มีประสิทธิภาพ   แต่   มันไม่มีประสิทธิผล

จากทฤษฎีการบริหารจัดการสมัยใหม่ของ Peter F.Drucker ได้นำมาเทียบเคียงกับการบริหารงานในโรงเรียนสถานที่ทำงานของเจ้าของ Blogger มีดังต่อไปนี้
Ø  การวางแผน : ถือว่าเป็นส่วนสำคัญของการทำงานของแต่ละฝ่ายในแต่ละปีการศึกษา "ปฎิทินโรงเรียน" เป็นปฏิทินที่บอกถึงการจัดกิจกรรมสำคัญๆในปีการศึกษาหนึ่ง วันไหน เดือนอะไร ถูกจัดและบริหารกรอบเวลาที่จะไม่กระทบต่อวันหยุดนักขัตฤกษ์ วันรับปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ งานเกษตรแฟร์ ทั้งนี้เพื่อให้แต่ละฝ่ายงานได้เตรียมความพร้อมทำงานตามกรอบปฏิทินโรงเรียนที่ได้ตั้งไว้เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกิจกรรมนั้นๆ 
Ø  การจัดองค์กร : เมื่อมีกำหนดการจัดกิจกรรมต่างๆแล้ว ทางผู้บริหารก็เรียกประชุมของหัวหน้าฝ่ายงานทั้งหมดเพื่อรับทราบความพร้อมของแต่ละฝ่าย และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อโรงเรียน จากนั้นนั้นหัวหน้าฝ่ายก็จะไปชี้แจงและมอบหมายบทบาทหน้าที่ให้บุคคลากรในฝ่ายได้ไปปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามแผนที่วางไว้
Ø  การชี้นำ/การจูงใจ : จากความคิดที่ว่า "ถ้าองค์กรประหนึ่งเป็นหุ่นยนต์ บุคคลากรทุกฝ่ายก็ถือว่าเป็นกลไกสำคัญที่จะทำให้หุ่นยนต์นั้นมีชีวิตและก้าวเดินไปข้างหน้าได้" ในทฤษฎีข้อนี้ Leanding Peter F.Druckker ได้ให้ความสำคัญของคำว่า "มนุษย์สัมพันธ์" กระนั้นแล้ว ถ้า องค์กรเป็นหุ่นยนต์ บุคคลากรเป็นกลไก คำว่า มนุษย์สัมพันธ์ คงไม่แคล้วเป็นน้ำมันที่หล่อลื่นให้กลไกทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการเกิดมนุษย์สัมพันธ์ได้นั้นใช่ว่าเพียงแต่พูดคุยทักทายเพียงอย่างเดียว การร่วมมือในทำงานที่อยู่ในกรอบของคำว่าหน้าที่ ใช่ว่าจะเกิดมนุษย์สัมพันธ์ขึ้นมาได้ เพราะฉะนั้นผมเชื่อว่ามันเกิดขึ้นได้ถ้าทุกฝ่ายเปิดใจเข้าหากันร่วมมือกันโดยไม่มีกรอบของงานหรือทำไปเพราะมันคือหน้าที่เข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะฉะนั้นการจัดโครงการสัมนาบุคคลากรเจ้าหน้าที่จึงเกิดขึ้น ในการจัดโครงการสัมนาบุคคลากรมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือความสามัคคี ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน มีกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้บุคคลากรทุกสายงานได้ร่วมสนุกสร้างสรรค์กิจกรรม ร่วมใช้ความคิดแก้ปัญหาช่วยเหลือกันในกิจกรรมนั้นๆ สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดความรักในสังคม,ในองค์กร,ในฝ่าย และเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้องค์กรเกิดประสิทธิภาพในระบบหน่วยงานที่จะทำให้เกิดความร่วมมือร่วมใจในการทำงานของแต่ละฝ่ายเพื่อองค์กรที่จะบรรลุเป้าหมายอย่างสูงสุด 
Ø  การควบคุม : การประเมินผลการทำงานในปีการศึกษา โดยตรวจสอบจากเอกสารการติดต่อไม่ว่าจะเป็น การติดตั้งเครืองเสียง การบริการถ่ายภาพถ่ายวิดีโอ อัดเสียง ตรวจซ่อม ฯลฯ งานบริการในฝ่ายโสตฯทั้งหมด แล้วมาทำเป็นสถิติการให้บริการของปีการศึกษาว่าปีได้มีคนขอรับบริการส่วนใดมากน้อยแค่ไหน 

อ้างอิงข้อมูล

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (MBO)

History : Peter Ferdinand Drucker